Thursday, October 28, 2010

  สภานักพัฒนาเพื่อประชาธิปไตย

ความเป็นมา.....เราเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความรู้เรื่องการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมาบ้างแล้ว ด้วยส่วนหนึ่งผ่านการอบรมหลักสูตร "ผู้นำการพัฒนาประชาธิปไตย" ของมูลนิธิ ๑๑๑ ไทยรักไทย รุ่น ๑,๒,๓,๔ และอยากศึกษาแลกเปลี่ยนหาประสบการณ์จากข้อมูลที่ยังไม่มีโอกาสรู้ ได้เป็นความรู้เพิ่มเติม เมื่อพบเพื่อนที่มีความรู้บางอย่างที่ตนไม่เคยรู้มาก่อน จึงอยากพบปะพูดคุยด้วย และในทางกลับกัน เพื่อนก็มีโอกาสได้เรียนรู้ จากการที่ตนเองรู้และได้แลกเปลี่ยนให้จนเป็นเอกภาพ
          จากคน 2-3 คน เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และแล้วเราก็ตกลงกันว่า เราจะนัดคุยกันให้เป็นเรื่องราวในทางสร้างสรร เป็นประโยชน์ต่อตนเอง สังคม ท้องถิ่น ประเทศชาติ เพื่อให้เกิดการพัฒนาไปสู่ความเป็นชาติที่มีประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ให้จงได้
          เริ่มด้วยการนัดพบปะคุยกันลักษณะสภากาแฟไปก่อน ทุกสัปดาห์ในวันพฤหัส โดยตกลงกันว่าจะต้องรวมตัวกันอย่างมีวัตถุประสงค์ที่เป็นอุดมการณ์ร่วมกัน เราจึงร่วมคิดร่วมแสดงความเห็นจนเป็นเอกภาพ แล้วจึงกำหนดเป็นอุดมการณ์ เราพร้อมเสมอที่จะเปิดโอกาสให้ทุกท่าน ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับสภาของเรา หากมีแนวความคิดและอุดมการณ์เช่นเรา 

เรา.....มั่นใจว่า
  ประชาธิปไตย  เป็นจิตวิญญาณของเรา
  ประเทศไทย  เป็นของเราทุกคน
  เรา  ต้องร่วมกันสร้างชาติไทย  ให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์


คำอธิบายอุดมการณ์ 
·       อำนาจอธิปไตย ต้องเป็นของประชาชนทั้งหลาย เพราะประชาชน

คือ จิตวิญญาณของชาติบุคคลหรือคณะบุคคลใด ไม่อาจใช้อำนาจ

โดยไม่เคารพประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง


·     ประเทศไทยเป็นของเราทุกคน  ประโยชน์สุขของมหาชนจะเกิดได้

ก็ต่อเมื่อชาติไทยมีระบอบประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แต่ประชาธิปไตย

ไม่ใช่จะเกิดได้เอง หรือไม่ใช่จะได้มาด้วยการร้องขอ ประชาธิปไตย

จะต้องร่วมกันสร้างขึ้นด้วยจิตสำนึกความเป็นพลเมืองของทุกคนในชาติ


·     บุคคล  ย่อมต้องมีหน้าที่ ความรับผิดชอบ มีสิทธิ เสรีภาพบริบูรณ์

บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น


·     สังคม  ต้องมีหลักประกันให้ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ทั้งทางกฏหมาย 

โอกาสในการศึกษา  การประกอบอาชีพ   และการรับสวัสดิการจากรัฐ


·     กฏหมาย และการใช้อำนาจรัฐ  ต้องคำนึงถึงประโยชน์สุขของมหาชน มีความ

เที่ยงธรรมทั้งการออกกฏหมายและกระบวนการยุติธรรม กฏหมายล้าหลัง

ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองต้องพิจารณาปรับปรุง หรือยกเลิก


·     ผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ต้องมาจากการเลือกตั้ง

ของประชาชนโดยตรง หรือผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา

Tuesday, October 26, 2010